เสริมความแข็งแรงให้ชั้นดิน
เทคโนโลยีฉีดสารโพลียูรีเทน (PU Foam) แก้ไขปัญหา การทรุดตัวของโครงสร้างอาคาร
แก้ไขปัญหา การทรุดตัวของโครงสร้างอาคาร
ปัญหาการทรุดตัวที่พบในโครงสร้างอาคาร
ชะลอการทรุดตัวของฐานรากโครงสร้าง โครงสร้างอาคารส่วนฐานราก เป็นส่วนพยุกอาคารไว้ทั้งหลัง บ่อยครั้งที่งานก่อสร้างฐานแผ่ ไม่มีการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดิน และไม่ได้คำนึงถึงระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ฐานโครงสร้างเกิดปัญหาการทรุดตัวอาคารเอียงและกำแพงแตกร้าวเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย และใช้งานพื้นที่
การเพิ่มความแข็งแรงชั้นดินด้วยวิธีการฉีดทางลึกจะทำการฉีดสารโพลียูรีเทนผ่านท่อไปยังชั้นดินที่มีปัญหา เพื่อเติมโพรงและบดอัดดินให้มีความหนาแน่นมากขึ้น สุดท้ายจะฉีดใต้ฐานแผ่เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับน้ำหนัก (bearing capacity)
เสริมความแข็งแรงให้ชั้นดิน ชะลอการทรุดตัวของฐานรากโครงสร้าง PUโฟม (Polyurethane)
การฉีดระยะแรกเพื่อบดอัดและเสริมความแข็งแรง ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักให้กับชั้นดินที่อ่อน (Improve Bearing Capacity) การขยายตัวของสารเคมีจะทำให้ดินมีความหนาแน่นเพียงพอในการต้านแรงสถิตจากโครงสร้างด้านบน การขยายตัวขึ้นยังเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักในบริเวณนั้น ๆ ให้ มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณที่ต้องการในการรับน้ำหนักสถิต (Static Load) การยกตัวของโครงสร้าง ในระหว่างขั้นตอนการเสริมความแข็งแรง หากดินมีความหนาแน่นสูงมาก การยกตัวของโครงสร้างจะเกิดขึ้นใต้ฐานรากอย่างรวดเร็วและชัดเจน
การวัดค่าระดับ
การวัดค่าระดับเป็นกระบวนการในการหาความสูง หรือความแตกต่างของความสูงจากจุดที่ต้องการการวัดค่าระดับจึงมีความสำคัญสำหรับการได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำแผนที่ภูมิประเทศ รวมถึงการออกแบบทางวิศวกรรมและการก่อสร้าง เทสล่า เอ็นจิเนียริ่ง จึงต้องทำการเก็บค่าระดับเป็นอย่างแรกก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสำรวจชั้นดินฐานรากในขั้นตอนอื่นๆ เพื่อการตรวจเช็คทิศทางการเอียงเทของพื้นที่สำรวจ และเพื่อการลำดับแผนการสำรวจในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนการสำรวจสภาพชั้นดินด้วยการทดสอบ PENETROMETER TESTING ด้วยเครื่อง Cone Penetrometer Test
Cone Penetrometer Test (Kunzelstab) เป็นเครื่องมือทดสอบความหนาแน่นชนิดพิเศษที่สามารถใช้หาความหนาแน่นของชั้นดินในแต่ละชั้นด้านใต้ฐานโครงสร้างพื้นได้ลึกสูงสุดถึงที่ระดับ 10 เมตรใต้โครงสร้างและหลังจากนั้นค่าที่ได้รับจะสามารถนำมาใช้ประเมินพื้นที่หน้างานที่จะทำการปรับปรุง
เครื่องมือชนิดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการสำรวจความหนาแน่นของดินโดยหลักการคือ จะใช้ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐานขนาด 30 กิโลกรัมตอกลงไปในชั้นดินทุกๆ ความลึกที่ตอกลงได้ 20 เซนติเมตรเพื่อดูความหนาแน่น (แรงต้านทาน) ของดินด้านล่างโครงสร้างซึ่งค่าที่ได้นี้จะถูกแปลงไปเป็น ค่าความหนาแน่นในการรองรับน้ำหนักของดินด้านใต้ (Bearing Capacity) และความหนาแน่นของดินด้านใต้ว่าเป็นลักษณะดินที่หลวม หรือ แน่น เหมาะสมในการรองรับน้ำหนักหรือไม่
ขั้นตอนการเสริมความแข็งแรงให้กับชั้นดิน
วิธีการนี้ยังเหมาะสมอย่างยิ่งกับพื้นที่อาจจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และต้องการเพิ่มความสามารถในการับน้ำหนักให้กับดิน การยกลักษณะดังกล่าวยังนำมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างอาคาร หรือบริเวณใกล้เคียงที่ทรุดตัวให้มีความแข็งแกร่ง (Rigidity) พอที่จะทำการปรับระดับ โครงสร้างให้กลับสู่ระดับเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การควบคุมที่แม่นยำด้วยเลเซอร์ และความเร็วในการขยายตัวทำให้มั่นใจว่าผลลัพธ์นั้นแน่นอนและตรวจสอบได้
1.ทำการเจาะรูเพื่อใช้สำหรับฉีดสาร
ทำการเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร เพื่อใช้ในการฉีดสาร PU โฟม ปรับระดับยกพื้นที่ทรุดตัว ดอกสว่านความยาวสูงสุด 3 เมตร
2. ทำการฝั่งท่อที่ใช้สำหรับฉีด
ท่อการฝังท่อเข้าไปยังจุดที่มีการเจาะรู โดยความยาวของท่อที่ฝังขึ้นอยู่กับ ผลทดสอบดินในบริเวณนั้นๆ ความยาวท่อลึงสูงสุด 4 เมตร
3. ฉีดสารโพลียูรีเทนเข้าไปปรับปรุงดิน
ตัวสารเมื่อถูกฉีดเข้าไปใต้ดินจะขยายตัวบดอัดดิน และเสริมความแข็งแรง ซึ่งเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักให้กับชั้นดินที่อ่อน
4. ทำการฝากค่าระดับไว้กับโครงสร้าง
ทีมงานจะทำการฝากค่าระดับไว้กับโครงสร้าง เพื่อใช้ในการตรวจสอบการทรุดตัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จุดเด่นของวิธีการฉีดสารโพลียูรีเทน ทำให้เราแตกต่าง และเข้าถึงการแก้ปัญหา
- ไม่ต้องลงเข็ม หรือทุบพื้นทิ้งในการสร้างใหม่
- ดินด้านใต้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากขึ้น
- ใช้เวลาซ่อมแซมไม่นาน สะดวก รวดเร็ว
- ปรับปรุงสร้างความแข็งแรงให้กับชั้นดินด้านใต้ชะลอการทรุดตัวของโครงสร้าง
- ความสามารถในการยก ปรับระดับ พื้นรองรับโครงสร้างงได้มากกว่า 50 ตันต่อตารางเมตร
บริษัท เทสล่า เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
2 ซอย อนามัยงามเจริญ 14
แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน
กรุงเทพฯ 10150